ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ
http://www.hotmail.com/
http://www.yahoo.com%20/
ทั้งนี้บริการจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเนื้อที่เก็บข้อมูล ประเภทของบริการเสริมหรือลูกเล่นพิเศษ เป็นต้นรูปแบบของ e-mail address (ที่อยู่ของ e-mail) มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน
คือ.........ส่วนที่ 1 คือ ชื่อ e-mail ของผู้รับ (อาจเป็นชื่อจริงหรือชื่อสมมุติ) มักจะเรียกว่า Login Name หรือ Account Name
.........ส่วนที่ 2 คือ ชื่อเว็บไซด์ของผู้ให้บริการ e-mail หรือ Domain Name คือชื่อเครื่องที่นิสิตมีทะเบียนอยู่ (เช่น supanees@nu.ac.th).........ทั้ง 2 ส่วน จะถูกคั่นด้วยเครื่องหมาย @ (at=แอท) ดังนั้นหากนิสิตจะบอกชื่อ e-mail address ของตนให้กับผู้รับ นิสิตจะต้องอ่านส่วนที่ 1 แอท ส่วนที่ 2 เช่น ssengsri at thaimail dot comการส่ง e-mail นั้น แม้ว่านิสิตนักศึกษาจะใช้บริการของเว็บไซด์ใด ส่วนใหญ่จดหมายจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
........1) From ถ้าเป็นจดหมายที่เราพิมพ์ออกไป ก็จะหมายถึงชื่ออีเมล์ของเรา ซึ่งโปรแากรมส่งอีเมล์มักพิมพ์อัตโนมัติให้ หรือถ้าเป็นจดหมายที่เรารับเข้ามาก็จะเป็นชื่ออีเมล์ของผู้ส่งจดหมายมาให้........2) To หมายถึง อีเมล์ผู้รับปลายทาง ผู้ส่งต้องรู้ชื่ออีเมล์ที่สะกดถูกต้องของผู้รับด้วย ไม่ฉะนั้นอาจมีการส่งจดหมายผิดหรือจดหมายอาจตีกลับโดยอัตโนมัติ ถ้าไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า นอกจากนี้ในการส่งจดหมายนั้นอาจส่งถึงหลาย ๆ คนพร้อมกันได้ในครั้งเดียวก็ได้
........3) Subject หมายถึง หัวเรื่องที่จะพูดคุยเป็นหัวข้อสรุปเนื้อความในจดหมาย
........4) CC (Carbon Copy) หมายถึง การสำเนาจดหมายเดียวกันนี้ถึงชื่ออีเมล์ผู้อื่นให้รับทราบด้วย
........5) BCC (Blind Carbon Copy) สำเนาจดหมายเดียวกันนี้ถึงชื่ออีเมล์ผู้อื่นให้รับทราบคล้าย CC แต่จะซ่อนชื่ออีเมล์ผู้รับไม่ให้ใครเห็น
........6) Attachment หมายถึง การแนบเอกสารอื่นไปพร้อมกับอีเมล์ เช่น ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง เป็นต้น โดยจะระบุถึงชื่อไฟล์ที่ต้องการแนบไปกับอีเมล์นี้
........7) Body หมายถึง พื้นที่สำหรับเนื้อความของจดหมาย ให้ผู้ใช้พิมพ์ข้อความจดหมายได้ทันที
........8) Signature หมายถึง ข้อความสำหรับลงท้ายจดหมาย ซึ่งเจ้าของอีเมล์นั้น ๆ สามารถกำหนดขึ้นเองได้ โดยพิมพ์ไว้เพียงครั้งเดียวในส่วนของซิกเนเจอร์ มักนิยมใช้กับคำขอบคุณ ชื่อผู้ส่ง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ แล้วโปรแกรมจะแทรกซิกเนเจอร์ ต่อท้ายเนื้อความให้โดยอัตโนมัติ
........9) New Message หรือ Compose เริ่มเขียนจดหมายใหม่
.......10) Reply ใช้ในกรณีที่ต้องการตอบจดหมายฉบับที่กำลังอ่าน
.......11) Reply to all ใช้ในกรณีที่ต้องการตอบจดหมายฉบับที่กำลังอ่านอยู่ แต่จดหมายฉบับนั้นมีผู้รับหลายคน และถ้าผู้อ่านต้องการตอบจดหมายถึงผู้รับทุกคน รีพลายทูออล จะคัดลอกชื่อ ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับอีเมล์ฉบับนี้ ให้ได้รับเมล์ตอบพร้อมกันด้วย
.......12) Forward ส่งจดหมายฉบับที่กำลังอ่าน ต่อไปให้ผู้อื่น
.......13) Delete ลบจดหมายฉบับที่กำลังอ่านออกจากตู้จดหมาย
.......14) Send ใช้ในกรณีที่ต้องการให้โปรแกรมส่ง (Send) จดหมาย
.......15) > (เครื่องหมายมากกว่า) มักจะพบในส่วนเนื้อความของจดหมาย คือถ้าเป็นจดหมายที่ตอบโดยใช้ Reply โปรแกรมจะสำเนาข้อความเดิมมาไว้ในจดหมายที่กำลังจะส่งด้วย โดยมีเครื่องหมาย ">" นำหน้าทุกบรรทัด เพื่อให้รู้ว่าไม่ใช่ข้อความใหม่วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ Google1 Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back….(พูดง่ายๆ คือค้นหาแบบแยกคำ)2 การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำ A และ คำ B (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้มารวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation London OR paris คือ หาทั้งใน London และ Paris3 Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the ,to , of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขี้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่ข้างหน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back + to nature หรือ final fantasy + x4 Google สามารถกับขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย5 Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่นคำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass – music หมายคามว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น “front mission 3” – filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF6 การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย * * เช่น *Breath of fire lV7 Google สามารถแปลเว็บภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็นภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า “ Translate this page “ ด้านข้างชื่อเว็บ)8 Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือ Adobe Portable Document Format (นามสกุลของไฟล์ PDF)Adobe PostScript (นามสกุลของไฟล์ PS)Lotus 1-2-3 (นามสกุลของไฟล์ wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)Lotus WordPro (นามสกุลของไฟล์ lwp)MacWrite (นามสกุลของไฟล์ mw)Microsoft Excel (นามสกุลของไฟล์ xls)Microsoft powerPoint (นามสกุลของไฟล์ ppt)Microsoft Word (นามสกุลของไฟล์ doc)Microsoft Works (นามสกุลของไฟล์ wks, wps, wdb)Microsoft Write (นามสกุลของไฟล์ wri)Rich Text Format (นามสกุลของไฟล์ rtf)Text (นามสกุลของไฟล์ ans หรือ txt)วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์ เช่น “Chrono Cross’ filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chromo Cross ที่เป็น pdf และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)9 Google สามารถเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บบางเว็บที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)10 Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน(โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกันใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลงหาข้อมูลการวิจัยความสามารถนี้จะช่วยให้หาข้อมูลได้มากมาย ในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword11 Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเว็บนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ UEL เช่น link:www.google.com .....แต่คุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้12 Google สามารถค้นหาเว็บทีจำเพระเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Standford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu13 ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I’m Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเว็บที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหาส่งให้คุณเลย(link ไปเว็บนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเว็บมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I’m Feeling Lucky หรือ ใช่เลย! เจอแน่ๆ ใน Google ไทย14 Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ15 Google สามารถ หาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์ First name (or first initial) , last name, city (state is optional)First name (or first initial) , last name, stateFirst name (or first initial) , last name, area codeFirst name (or first initial) , last name, zip codePhone number, including area codeLast name, city, state Last name, zip code แล้วแต่ว่าจะใช้แบบไหน16 Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com/)17 Google สามารถเก็บข้อมูลลักษณะการใช้ที่คุณต้องการได้โดยเข้าไปที่ Preferences หรือ ตัวเลือกใน Google ไทยที่มา http://www.edu.nu.ac.th/supanees/lesson/366515/unit2_p01.html